หลักสูตร ปริญญาตรี

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการบิน (แผนการศึกษาเทียบโอน)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการบิน (แผนการศึกษาเทียบโอน)

เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานในอุตสาหกรรมการบินหรืออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องต่อยอดองค์ความรู้ด้านการบิน เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับตำแหน่งงานๆ ของหน่วยงานด้านการบิน ประกอบด้วย 5 วิชาโท ได้แก่
    1. วิชาโทการท่าอากาศยาน (APM)
    ศึกษาเกี่ยวกับการดำเนินการด้านการบริหารและการจัดการท่าอากาศยาน โดยสามารถปฏิบัติงานตามมาตรฐานสากลเพื่อให้การดำเนินการท่าอากาศยานเป็นไปด้วยความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งมีความสามารถในการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์เพื่อใช้ในการวางแผนท่าอากาศยาน การใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มรายได้ โดยมีการเพิ่มองค์ความรู้ในข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการตรวจและการประเมินมาตรฐานท่าอากาศยาน เพื่อจะได้มีคุณสมบัติในการเป็นผู้บริหารในท่าอากาศยานต่างๆได้ในอนาคต
    2. วิชาโทการขนส่งสินค้าทางอากาศ (ACM)
    ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการจัดการด้านการขนส่งสินค้าทางอากาศ เพื่อให้เข้าใจถึงขั้นตอนการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มต้นต่อเนื่องจนสิ้นสุดกระบวนการรับขนสินค้าทางอากาศ โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีคุณลักษณะและศักยภาพที่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมการบินและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้อย่างเหมาะสม รวมถึงมีองค์ความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    3. วิชาโทโลจิสติกส์การบิน (ALM)
    ศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมงานทางด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในอุตสาหกรรมการบิน เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและความสามารถในกระบวนการบริหารจัดการ การวางแผน การจัดสรรทรัพยากร การวิเคราะห์การประยุกต์ใช้องค์ความรู้แบบบูรณาการ รวมถึงการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด มุ่งเน้นการลดต้นทุน สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า และส่งเสริมให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการ
    4. วิชาโทธุรกิจสายการบิน (ABM)
    ศึกษางานทางด้านการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในงานด้านบริการ งานปฏิบัติการ เทคโนโลยี และงานบริหาร สอดคล้องกับความต้องการในธุรกิจสายการบินและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยให้ความสำคัญกับการเรียนในภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และได้รับประสบการณ์ในการทำงานแบบได้ลงมือปฏิบัติจริงที่ครอบคลุมความรู้เกี่ยวกับการจัดการในธุรกิจสายการบิน การให้บริการลูกค้าสายการบินทั้งภาคพื้นดินและภาคอากาศ การขายและการตลาด การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ รวมถึงการพัฒนาธุรกิจสายการบินด้วยกลยุทธ์ดิจิทัลต่างๆ
    5. วิชาโทการบำรุงรักษาอากาศยาน (AMM)
    ศึกษาเกี่ยวกับอาชีพงานด้านการบำรุงรักษาอากาศยาน เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการจัดการธุรกิจงานบำรุงรักษาอากาศยาน ตั้งแต่เริ่มต้นต่อเนื่องจนสิ้นสุดกระบวนการในอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งต้องมีการวางแผน บริหารจัดการควบคุมคุณภาพ ดูแลให้มีการคงความความต่อเนื่องของความสมควรเดินอากาศของอากาศยาน โดยการศึกษาศาสตร์ของการปฏิบัติงานในองค์ประกอบที่สัมพันธ์และสนับสนุนกับการบำรุงรักษาอากาศยานแบบครบวงจร เพื่อมุ่งเน้นให้มีความรู้ ทักษะ ความสามารถมาตรฐานการซ่อมบำรุงรักษาอากาศยาน โดยเฉพาะธุรกิจของอุตสาหกรรมการซ่อมบำรุงอากาศยานในระดับสากล

แผนการศึกษา : โครงสร้างหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการการบิน (แผนการศึกษาเทียบโอน) มีจำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 104 หน่วยกิต ประกอบด้วย


     1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 8 หน่วยกิต
         1.1 กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไปแบบเลือก 8 หน่วยกิต
     2) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 78 หน่วยกิต
         2.1 กลุ่มวิชาบังคับร่วม 42 หน่วยกิต
               2.1.1 กลุ่มวิชาพื้นฐาน 15 หน่วยกิต
               2.1.2 กลุ่มวิชาวิทยาการการบิน 27 หน่วยกิต
         2.2 กลุ่มวิชาโท 36 หน่วยกิต
     3) หมวดวิชาสหกิจศึกษา ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต
     4) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต


ระยะเวลาการเรียน : 2  ปี (6 ภาคการศึกษา)
ปฏิทินปีการศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 1      มิ.ย. – ก.ย.
ภาคการศึกษาที่ 2      ต.ค. – ม.ค.
ภาคการศึกษาที่ 3      ก.พ. – พ.ค.
เมื่อสำเร็จการศึกษา :
•    ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)
•    ได้รับประกาศนียบัตรจากสถาบันการบินพลเรือน ซึ่งรับรองโดยรัฐบาลไทย และองค์การการบินพลเรียนระหว่างประเทศ
การประกอบอาชีพหลังจบการศึกษา :
1. วิชาโทการท่าอากาศยาน (APM)
     1.1 เจ้าหน้าที่บริหารหลุมจอดในท่าอากาศยาน (Airport Apron Controller)
     1.2 เจ้าหน้าที่ฝ่ายพิธีการบินในท่าอากาศยาน (Airport Flight formalities officer)
     1.3 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในท่าอากาศยาน (Airport Internal Auditor)
     1.4 เจ้าหน้าที่กำกับดูแลมาตรฐานสนามบิน (Airport Regulator)
     1.5 เจ้าหน้าที่บริหารงานท่าอากาศยาน (Airport Administrative Personnel)
2. วิชาโทการขนส่งสินค้าทางอากาศ (ACM)
     2.1 เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายและฝ่ายปฏิบัติการแผนกการขนส่งสินค้าทางอากาศของสายการบิน (Cargo Sale and Operation Officer)
     2.2 พนักงานควบคุมน้ำหนักและจัดระวางอากาศยาน (Load Control Officer)
     2.3 เจ้าหน้าที่ประสานงานงานบริการภาคพื้น (Turnaround Coordinator)
     2.4 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการลานจอด (Ramp Operation Officer)
     2.5 เจ้าหน้าที่แผนกคลังสินค้าทางอากาศ (Cargo Warehouse Agent)
     2.6 เจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Services)
3. วิชาโทโลจิสติกส์การบิน (ALM)
     3.1 เจ้าหน้าที่แผนกบริการลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัทขนส่งสินค้าทางอากาศ (Customer Service in air cargo business)
     3.2 เจ้าหน้าที่ฝ่ายขายและฝ่ายปฏิบัติการของบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศ (Air freight forwarding sale and operation officer)
     3.3 เจ้าหน้าที่ดำเนินพิธีการศุลกากรในบริษัทตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศ (Customs Formalities officer)
     3.4 เจ้าหน้าปฎิบัติการนำเข้าส่งออกสินค้าของบริษัทผู้นำเข้าส่งออก (Operations officer in Importer & Exporter business)
4. วิชาโทธุรกิจสายการบิน (ABM)
     4.1 เจ้าหน้าที่ฝ่ายการจัดการงานบริการผู้โดยสารบนเครื่องบิน (In-Flight Services Management Officer)
     4.2 เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริการลูกค้า แผนกบริการภาคพื้นสายการบิน (Ground or Station Services)
     4.3 เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมคุณภาพและความปลอดภัยสายการบิน (Security, Safety and Quality Control)
     4.4 เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบายและการวางแผนสายการบิน (Strategic Planning Officer)
     4.5 เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดการรายได้สายการบิน (Revenue and Pricing Officer)
5. วิชาโทการบำรุงรักษาอากาศยาน (AMM)
     5.1 เจ้าหน้าที่บริการด้านข้อมูลเทคนิค (Technical Services Officer) ประจำสายการบินต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
     5.2 เจ้าหน้าที่บริหารการซ่อมบำรุงอากาศยาน (Maintenance Control Center) ประจำสายการบินต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
     5.3 เจ้าหน้าที่ประกันคุณภาพด้านการบิน (Quality Assurance Engineering Officer) ประจำหน่วยซ่อมอากาศยาน และสายการบินต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
     5.4 เจ้าหน้าที่วางแผนการซ่อมบำรุง (Planning Officer) ประจำสายการบินต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
     5.5 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (Safety Officer) สายการบินต่างๆ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐทั้งภายในและต่างประเทศ
     5.6 เจ้าหน้าที่ประสานงานปฏิบัติการด้านการบิน (Operations Control Officer) ประจำสายการบินต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
     5.7 เจ้าหน้าที่ประเมินความเสี่ยงความปลอดภัยด้านการบิน (Aviation Security Risk Monitoring Officer) สายการบินต่างๆ และประจำหน่วยงานภาครัฐ ทั้งภายในและต่างประเทศ
     5.8 เจ้าหน้าที่บริหารงานปฏิบัติการด้านการบิน (Operations Management Center Administrator) ประจำสายการบินต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ
จุดเด่นของหลักสูตร/ สาขาวิชา : 
1. มุ่งเน้นพัฒนาบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทางวิชาชีพและด้านการปฏิบัติการ ให้สอดคล้องตามมาตรฐานองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) และสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA) รวมทั้งมีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยสอดคล้องกับรูปแบบการดำเนินการในปัจจุบัน
2. เชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากสายการบินชั้นนำ หน่วยการทางด้านอุตสาหกรรมการบินและเกี่ยวข้อง มาบรรยายถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ตรงในการทำงานให้แก่นักศึกษา
3. ทำความร่วมมือทางวิชาการกับสายการบิน สถานประกอบการ และหน่วยงานกำกับดูแลทางด้านการบิน เพื่อร่วมกันสร้างทักษะและพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน
4. มีการฝึกประสบการณ์ปฎิบัติงานสหกิจศึกษากับสายการบินและหน่วยงานชั้นนำต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพแก่นักศึกษา
5. จัดโครงการศึกษาดูงานในสถานประกอบการต่างๆ ให้กับนักศึกษาเพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ เสริมสร้างประสบการณ์และเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆ
6. สามารถนำองค์ความรู้ไปปรับเปลี่ยนสายงาน หรือต่อยอดในสายงานในหน่วยงานได้

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร*โดยประมาณ 259,900 บาท